สวัสดีครับ! พบกันอีกครั้งในช่วงปลายปีกับ “มองอย่างเจี๊ยบ” คอลัมน์สำหรับคนรักแบดมินตัน ที่จะพาแฟนขนไก่ไปพูดคุยกับ “อ.เจี๊ยบ” ธนัช อัศวนภากาศ รองเลขาธิการสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ รวมทั้งเป็นผู้บรรยายกีฬาขนไก่จากทางทรูสปอร์ต โดยเราพบกันครั้งนี้เป็นฉบับที่ 23 จากการที่คุยกันล่าสุดเมื่อหลังจบศึกชิงแชมป์โลก 2022 ราวๆเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา
ฉบับนี้ เราจะมาพูดถึงควันหลังจากศึก เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์ รายการส่งท้ายปี 2022 ที่เพิ่งจบลงไปเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 11 ธ.ค. 65 ที่ผ่านมาอย่างยิ่งใหญ่ โดยรายการนี้มีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งการที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบบเร่งด่วน จากการที่ประเทศจีนมีปัญหาไวรัสโควิด-19 ระบาดอีกหน รวมถึงผลงานนักกีฬาไทย และตำแหน่งแชมป์ ทั้ง 5 ประเภท ซึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจทั้งหมด เราจะไปอภิปรายพร้อมกับ อ.เจี๊ยบ กันเลยครับ
Q : สวัสดีครับ อ.เจี๊ยบ อันดับแรกคงต้องถามถึงที่มาที่ไปของการที่ไทยได้จัดแข่ง เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์ 2022 มันมีกระบวนการอย่างไร ดำเนินการอย่างไร เล่าให้ฟังหน่อยครับ ?
Q : ฟีดแบคของฝ่ายจัดการแข่งขัน , นักกีฬาต่างชาติ รวมถึงกองเชียร์ไทยในการแข่งขันครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ ?
Q : หลายคนสงสัยว่าทำไม “กุลวุฒิ วิทิตศานต์” ไม่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน ทั้งที่เป็นรองแชมป์โลก และผลงานในปีนี้ถือว่าดีมาก ?
Q : อยากให้ อ.เจี๊ยบ พูดถึงภาพรวมผลงานนักกีฬาไทยแบบรายคนที่ไม่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศครับ
บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์
รัชนก อินทนนท์
จงกลพรรณ กิติธรากุล & รวินดา ประจงใจ
สุภัค จอมเกาะ & ศุภิสรา เพียวสามพราน
Q : รีวิวรอบชิงชนะเลิศทั้ง 5 ประเภท ?
หญิงเดี่ยว : อกาเนะ ยามากูชิ พบ ไต้ จื่ออิง
ก็ต้องบอกว่าเป็นสองนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวที่แฟนขนไก่ไทยรักและชอบกันมาก ไม่ว่าใครจะชนะแฟนชาวไทยก็คงจะยินดีทั้งคู่ ซึ่งตลอดการเล่นทั้งสองคนเล่นกันได้ดีและสนุกมากๆ ตลอดการเล่นมีเสียงเชียร์ตลอดเวลาจากแฟนๆ กับหลายๆช็อตการเล่นระดับเทพ แต่สุดท้ายแล้วเกมบุกของไต้ จื่ออิง บุก อากาเนะ ไม่อยู่ และกลายเป็นตีเสียเองเยอะ พอจะปรับมาเล่นเกมรับ แม้จะทำได้ดี แต่ท้ายที่สุดก็ยังพลาด เพราะ อากาเนะ เร็วและหลากหลายมากกว่า แม้ว่าไต้ จื่ออิง พยายามจะเล่นเน้นเกมรับมากขึ้นเหมือนในวันที่เล่นเกมรับใส่ เหอ ปิงเจียว ที่ตามหลัง 5-11 แล้วรันแต้มติดต่อกันยาว 13-1 ก่อนจะเอาชนะไป แต่ก็ยังไม่สามารถต้านเกมบุกอากาเนะ ได้ ก่อนจะแพ้ไป 0-2 เกม แต่แต้มถือว่าไม่ขาดนะครับ และเป็นแมทช์ที่สนุกมากๆ เป็นที่ชื่นชอบของแฟนแบดมินตัน เรียกได้ว่า ดูคู่นี้คู่เดียวก็คุ้มค่าตั๋วแล้ว
ชายคู่ : โมฮาหมัด อาซาน & เฮนดร้า เซนเทียนวาน พบ หลิว ยู่เฉิน & อู ซวนยี่
เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อมากสำหรับนักแบดมินตัน วัย 38 (เซนเทียนวาน) กับ 35 (อาซาน) ยังเล่นได้อย่างสุดยอดตลอดการแข่งขันและพาตัวเองเข้ามาในรอบชิงชนะเลิศ เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์ 2022 ได้ รวมทั้งเคยเป็นแชมป์เก่ามาถึงสามสมัย การเจอกับ คู่ใหม่มาแรงของจีนในครั้งนี้ พวกเขาก็ยังคงความยอดเยี่ยม อาศัยจังหวะการเล่นหน้าเนตเล่นงานจีน แต่ด้วยวันนี้จีนก็มาดี ไม่ได้เน้นตบตลอด หาจังหวะเผาแรงอินโดฯไปเรื่อย หลอกตัดบ้าง เซฟกระชากบ้าง หาจังหวะเล่นเกมยาว รวมทั้งเกมหน้าเนตก็สู้ได้ดี ซึ่งพอมาถึงเกมสามก็จะเห็นได้เลยว่า อาซาน & เซนเทียนวาน หมดถังสนิท นี่เป็นภาพที่เราเห็นกันบ่อยในหลายปีหลัง หากมีการดึงไปถึงเกมสาม คู่อินโดฯคู่นี้จะยากในการต่อกรกับคู่ต่อสู้ ด้วยวัย ด้วยสภาพร่างกายครับ หลังเกมการแข่งขัน เราจะเห็น หลิว ยู่เฉิน ซึ่งนับถือและให้ความเคารพ เซนเทียวาน เสมือนหนึ่งเป็นพี่ชาย ก็ได้เข้ามากอดและ ยังไปร่วมทานอาหารกันต่อด้วย แทบจะเรียกชื่อเล่นๆได้ หลิว เซนเทียวาน (แทนที่หลิว ยู่เฉิน)
หญิงคู่ : นันทน์กาญจน์ เอี่ยมสอาด & เบญญาภา เอี่ยมสอาด พบ เฉิน ชิงเฉิน & เจี่ย ยี่ฟาน
ก่อนอื่นขอย้อนผลงานในรอบรองชนะเลิศของ อันนา & มูนา ครับ นี่แหละคือที่มาของคำพังเพย ที่ว่า “งูเหลือมกับเชือกกล้วย” มันมีอยู่จริง เราสามารถเอาชนะ จอง นาอึน & คิม แฮจอง ของเกาหลีใต้ ที่เป็นถึงมือ 5 ของโลก และเคยได้แชมป์เวิลด์ทัวร์ 750 ที่ญี่ปุ่นมาแล้ว แต่เหมือนแพ้ทาง อันนา & มูนา เพราะเราชนะเขามาแล้ว 4 ครั้งติดต่อกัน รายการนี้พี่น้องดาวรุ่งของเราเล่นได้ดีมาก สร้างความสุขให้แฟนๆขนไก่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมบุก ที่น้องทั้งสองคนมีลูกตบที่หนักทั้งคู่ ยิ่งหน้าเนต มูนา ก็มีเซนส์ในการดักได้ยอดเยี่ยมมากๆ อาจจะมีข้อที่ต้องปรับปรุงบ้าง คือเกมรับที่ยังไม่นิ่งเท่าไหร่หนัก และการผิดพลาดเองถ้ามีการแรลลี่ยาว ส่วนในรอบชิงชนะเลิศ น้องทั้งสองคนทำได้ดี เพียงแต่ว่าการมาเจอกับ เฉิน ชิงเฉิน & เจี่ย ยี่ฟาน นาทีนี้เป็นอะไรที่ยากมาก อดีตแชมป์โลก 3 สมัย แข็งแกร่งมากๆ แม้เราจะพยายามบุกอย่างหนัก แต่พวกเขาต้านเราอยู่ กลับกันเวลาจีนบุก เราต้านได้ไม่นาน อีกทั้งเกมหน้าเนต เฉิน ชิงเฉิน พรีเมียมมาก เพราะเคยเป็นอดีตคู่ผสมมือหนึ่งโลก ทำให้ข่มใส่ มูนา ที่ปกติหน้าเนตวางลูกฉลาด แต่เมื่อเป็นฝ่ายช้ากว่าจีน ก็เลยเสร็จไป แม้จะแพ้ แต่ก็ได้รับเสียงเชียร์จากแฟนๆเต็มสนามและจะเป็นคู่ความหวังใหม่ของไทยแน่นอนครับ
ชายเดี่ยว : วิคเตอร์ อเซลเซ่น พบ แอนโทนี่ กินติ้ง
ทุกคนมองว่ารอบชิงชนะเลิศน่าจะมีโอกาสพลิกล็อคได้ เนื่องด้วยรอบรองชนะเลิศ โคได นาราโอกะ ได้แสดงวิธีการเล่นที่บ่งบอกถึงการมีโอกาสชนะวิคเตอร์ ให้เห็นแล้ว ด้วยเกมที่อาศัยความไว เอาลูกลงเร็ว โยกซ้ายขวาตลอดเวลา น่าเสียดายที่วันนั้นวิคเตอร์กลับตัวได้ทัน ทำให้เอาตัวรอดมาได้ พอมาถึงรอบชิงชนะเลิศ แอนโทนี่ กินติ้ง ซึ่งมีสไตล์การตีที่คล้ายกับ นาราโอกะ แต่ไวกว่า เกมบุกหนักกว่า และมีประสบการณ์มากกว่า น่าจะต่อสู้ได้สนุก แต่พอมาลงสนามจริงๆ วิคเตอร์ ก็ทำการบ้านมาเช่นกัน เพราะรู้ว่า กินติ้ง ต้องเล่นแบบเดียวกับนาราโอกะ แน่ วิคเตอร์ จึงเน้นเกมเข้าหน้าเน็ตเร็วบีบเข้าใส่กินติ้ง ทำให้กินติ้งต้องยก ขึ้นลูกให้วิคเตอร์บุกตบ และต้านเกมบุกไม่อยู่ ต้องยอมรับว่านาทีนี้ วิคเตอร์ อเซลเซ่น สมบูรณ์แบบ และยากที่จะโค่นลงได้มากๆ หากไม่มีอาการบาดเจ็บ ก็น่าจะอยู่ในจุดแบบนี้ไปอีกยาวนานแน่นอน
คู่ผสม : เดชาพล พัววรานุเคราะห์ พบ เจิ้ง ซีเว่ย & หวง ย่าเฉียง
เป็นคู่ที่แฟนๆแบดมินตันเฝ้ารอคอยในศึกแห่งศักดิ์ศรี ของอดีตแชมป์โลก และ อดีตมือ 1 โลก โคจรมาพบกันในรอบชิง ซึ่ง บาส & ปอป้อ ก็เล่นได้ดีมากๆในรายการนี้ ท็อปฟอร์มาก รวมทั้งเกมในวันชิงชนะเลิศ ก็ออกสตาร์ทได้ดีกว่าคู่ เจิ้ง & หวง มีการประกบหน้าเนตสู้กับ หวง ย่าเฉียง ได้ยอดเยี่ยม ความหนักและเร็วของบาส ก็ไม่ได้เป็นรอง เจิ้ง ซีเว่ย แต่จุดเปลี่ยนเกมแรก คือเรานำ 19-17 แล้วไปโดนเค้าปาด ทำให้โมเมนตั้มเสียไปพอสมควร แม้เราจะสามารถกลับมาในเกมสองได้ แต่เกมที่สามในขณะที่เกมกำลังสูสี มาจนถึงกลางเกม เรามีอาการอ่อนแรงลง จากการต้านเกมบุกจีนมาต่อเนื่อง โดนฉีกในช่วงกลางเกมแล้วไล่ไม่ทัน ส่วนภาพรวมของ บาส & ปอป้อ ก็ทำได้ดีในรายการนี้ รอบแบ่งกลุ่มชนะสบาย ตัวบาสเอง ในรายการนี้แสดงให้เห็นถึงความเร็วที่เหนือกว่าผู้ชายคนอื่นๆในคู่ผสม เปรียบดังซูเปอร์คาร์เลย ชั่วโมงนี้ตบหนักมากด้วย ตัวปอป้อเอง ก็ประกบหน้าเนตดี แม้จะไม่ใช่จุดเด่นก็ตาม แต่จุดเด่นของปอป้อ คือมีความเหนียวแน่นในการเล่นเกมรับ ป้องกันลูกตบของ เจิ้ง ซีเว่ย ได้สบายๆ เป็นอีกคู่ที่ทำให้แฟนๆชื่นใจว่าเราอยู่ในฟอร์มที่ดีอีกครั้งครับในช่วงครึ่งปีหลัง
Q : ภาพรวมของแชมป์ 5 ประภทเป็นอย่างไรบ้างครับ ?
Q : ตลอดการบรรยายทั้ง 5 วัน มีแมตช์ไหนที่สนุกครบรส และประทับใจที่สุดบ้าง ?
อ.เจี๊ยบ : เอาจริงๆแล้ว ทุกเกมสนุกจริงๆในรายการนี้ อย่างแมตช์ชิงหญิงเดี่ยว แม้จะ 2-0 แต่ก็สนุกมากๆ แต่ถ้าขอเลือกแมทช์ที่สนุกตื่นเต้นจริงๆ ขอเลือกแมตช์ที่นักกีฬาไทยลงเล่น แมตช์แรก ก็เป็นนัดชิงคู่ผสม ที่สองเกมแรก บาส & ปอป้อ สู้กับ เจิ้ง & หวง ได้สนุกมากๆ ดวลกับคู่ที่มาจากนอกโลกได้ขนาดนั้น เป็นเกมที่มีครบรส ทั้งความหนัก ความเหนียว และเทคนิคต่างๆ ส่วนอีกนัด ก็ขอเป็นรอบรองฯหญิงคู่ นัดที่ อันนา & มูนา ที่สามารถเอาชนะคู่ จอง นาอึน & คิม แฮจอง ได้อีกครั้ง แม้สาวเกาหลีจะพยายามปรับเกมมาสู้จากการแพ้เราในรอบแรก ด้วยการเน้นเกมบุกและแจกลูกออกด้านหลัง แต่น้องทั้งสองคนก็มีสมาธิ ปรับเกมมาสู้ได้ดีมากเช่นกัน เปลี่ยนรับเป็นรุก และเอาชนะไปได้ ผมขอเลือกสองแมตช์นี้ครับ
Q : อยากให้ผู้ถึงกลุ่มผู้เล่นที่ผลงานน่าผิดหวังและผู้เล่นนอกสายตาที่ทำผลงานยอดยี่ยมในรายการนี้ครับ ?
กลุ่มผู้เล่นน่าผิดหวัง
-หวัง ยี่ลู่ คู่ผสมของจีน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิค แสดงให้เห็นว่าสภาพความแข็งแกร่งยังไม่ดี จากปัญหาอาการบาดเจ็บที่ติดตัวมา แพ้ บาส & ปอป้อ รวมถึงคู่ ตัน เคียงเม้ง & ไล่ เป่ยจิง ที่ไม่เคยแพ้มาก่อน ตกรอบแรกไปด้วย
-โจว เทียนเฉิน ก็เป็นอีกคนที่น่าผิดหวัง ความรวดเร็ว ความแข็งแรง ความหนักก็ลดลงไปจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งผลการแบ่งสายก็ถือว่าหนัก ในการอยู่กับ โจนาธาน คริสตี้ , แอนโทนี่ กินติ้ง และ โลห์ เคียนยิว ซึ่งทุกคนมีฝีเท้าที่รวดเร็วทั้งหมด โจว เทียนเฉิน ไม่สามารถเร่งก็อกสองก็อกสามได้เลยในการแข่งขันรายการนี้
-ทอม กีเคล & เดลแฟ็ง เดอลูว์ เป็นคู่ผสมของฝรั่งเศส ที่น่าจับตามอง พัฒนาขึ้นมายอดเยี่ยมมาก ตั้งแต่กลางปีมา แต่พอรายการนี้ ทั้งสองคนกลับฟอร์มตก ความเร็วหาย เกมบุกฝืด ทำอะไรคู่ต่อสู้ไม่ได้เลย
-วิเวียน ฮู & ลิม เซียวซิน ด้วยการที่ไปถล่มเล่นมาหลายรายการ อัดมาเยอะมาก จนทำให้มีคะแนนมาเล่นในรอบไฟนอลส์ได้พอมารายการนี้ ต้องยอมรับว่า เทคนิค และฝีมือ ตลอดจนมาตรฐานก็เป็นรองอีก 7 คู่ที่เหลือด้วย ไม่สามารถต่อกรกับใครได้เลย แพ้ขาดลอยทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่ม
ผู้เล่นนอกสายตาผลงานเยี่ยม
-เกรกลอเลีย มาริสก้า ทุนจุง เป็นนักแบดมวยแทนที่เข้ามาจากการถอนตัวของ พีวี สินธุ ซึ่งในรายการนี้ ทุนจุง เล่นเยี่ยมมาก เอาชนะ เฉิน ยู่เฟย ได้เกมจาก อากาเนะ ยามากูชิ และ อัน เซยอง ได้ แม้จะไม่ได้ผ่านรอบแรก แต่ได้รับคำชมเยอะมาก โดยเฉพาะหัวใจนักสู้ ที่ร่างกายไม่ไหว แต่ใจยังสู้ เชื่อได้เลยว่าปีหน้าน่าจะเป็นปีที่ดีของเธอ
-โคได นาราโอกะ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ยอดเยี่ยม สมกับรางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี เล่นดีมาก ปราบทั้ง พรานนอย ทั้ง ลู กวางชู รวมทั้งในรอบรองฯ ที่เกือบปราบ วิคเตอร์ อเซลเซ่น ได้ด้วย นิดเดียวจริงๆ อีกทั้งยังเป็นการที่คนไทยส่งใจเชียร์เขามากกว่าวิคเตอร์ในวันนั้นอีกด้วย
Q : สุดท้ายอยากให้เป็นตัวแทนสมาคมแบดมินตัน กล่าวขอบคุณแฟนๆแบดมินตันชาวไทยหลังปิดฤดูกาล 2022 รวมถึงการตอบรับในรายการนี้ และขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ?
และนี่ก็คือ มองอย่างเจี๊ยบฉบับนี้ ถือเป็นการรีวิวศึกใหญ่ที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพ แม้เราจะไม่มีแชมป์แต่ถือว่าน้องๆทำได้ดีมากแล้ว เดี๋ยวก่อนหมดปีนี้เราจะมีการจัด 10 ที่สุดประจำปี 2022 กันอีกหนึ่งฉบับ ใครจะไปอยู่ในสายตาและมุมมองของอ.เจี๊ยบ บ้าง ฝากติดตามกันด้วยครับ สำหรับวันนี้ลาไปแล้ว สวัสดีครับ
เรียบเรียงโดย : นิก ธีร์ธวัช