Badminton Sponsored

9 เดือน ต่อยอดความสำเร็จ 2 มือหวด สู่ตำแหน่งแชมป์แบดมินตันคู่ผสม

Badminton Sponsored
Badminton Sponsored

“ภูมิใจที่สามารถคว้า แชมป์แบดมินตันคู่ผสม มาครองได้สำเร็จ ถือเป็นครั้งแรกในชีวิตนักกีฬา ครั้งแรกของชีวิตตัวเอง   ที่ได้ 3 แชมป์ติดต่อกัน ประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันตลอด 3 รายการ คือการเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น  คือผลลัพธ์จากการทุ่มเท ฝึกซ้อมตลอด 9 เดือน จนสร้างชื่อให้กับประเทศไทย”   บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ – ปอป้อ  ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่มืออันดับ 3 ของโลก    แชมป์แบดมินตันคู่ผสม :  31 มกราคม 2564

เป็นบทสรุปที่มาจาก    แชมป์แบดมินตันคู่ผสม “บาส”เดชาพล พัววรานุเคราะห์ – “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย   หลังจบการแข่งขันแบดมินตัน  ซูเปอร์ เวิลด์ทัวร์ 1000   ประกอบด้วย “โยเน็กซ์ ไทยแลนด์ โอเพ่น”  , “โตโยต้า ไทยแลนด์ โอเพ่น” และ “เอชเอสบีซี บีดับเบิ้ลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ไฟนอลส์ 2020” หรือ   “เวิลด์ทัวร์ ไฟนอลส์ 2020”

ความสำเร็จของ “บาส”เดชาพล  และ “ปอป้อ”  ทรัพย์สิรี  แชมป์แบดมินตันคู่ผสม  มีฉากหลังอยู่ที่ การทำงานหนักของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตลอด 9 เดือน   ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 3 รายการ  ทั้งนี้ “บาส”เดชาพล  และ “ปอป้อ”  ทรัพย์สิรี    คือนักกีฬาแบดมินตัน ในสังกัด “เอสซีจี แบดมินตัน อะคาเดมี่”

“ช่วงที่แบดมินตันแข่งขันไม่ได้ เพราะโควิด 19 รวม 9 เดือน เป็นช่วงเวลา ที่เราต้องใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในการพัฒนาให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา กับนักกีฬาเพื่อนำไปต่อยอด ให้เขารู้และเข้าใจไปกับเรา มีการศึกษาแนวทางการเล่นของคู่ต่อสู้ จำลองสถานการณ์เกม ให้คล้ายกับสถานการณ์ในสนามให้ได้มากที่สุด เพื่อลบจุดอ่อนและอัพเกรดจุดแข็ง ถือว่าเป็น  9 เดือน ที่ทุกคน ทำงานกันตลอดเวลา เพื่อสร้างความพร้อม”   เทศนา พันธ์วิศวาส  (โค้ชโอม )  หัวหน้าผู้ฝึกสอนกีฬาแบดมินตัน  ระบุ

เขา กล่าวว่า    ข้อดีของ  9   เดือน ที่วงการกีฬาหยุดไป  คือการทำให้มีเวลาที่จะพัฒนาได้มากขึ้น   เพราะหากเป็นช่วงเวลาปกติ   แน่นอนว่าเวลาเหล่านี้ แทบจะไม่มี  เพราะเป็นช่วงที่นักกีฬาต้องออกทัวร์แข่งขันตลอดเวลา   “ในมุมของผม ทั้งสองคนมีพัฒนาการที่ดีมาก  ทั้งในเรื่องของร่างกายและเทคนิค  

“ ที่ต้องชื่นชมคือระเบียบวินัย ทั้งคู่รู้ดีว่าหน้าที่ของตัวเองคืออะไร แม้ว่าช่วงโควิด  ระบาดหนัก ซึ่งเราจำเป็นต้องปรับรูปแบบการฝึกซ้อมให้สอดคล้อง  โดยปล่อยนักกีฬากลับบ้าน ไม่สามารถพักที่แคมป์ของเอสซีจี อะคาเดมี่ได้   ซึ่งหลังจากมาตรการเริ่มผ่อนคลาย ทั้งคู่ก็ไม่เคยขาดซ้อม ซ้อมอย่างเต็มที่ แลกเปลี่ยนแนวทางกับโค้ชและทีมงานแบบเปิดเผย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ” เทศนา กล่าว

ศ.ดร.เจริญ กระบวนรัตน์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์การกีฬา เอสซีจี แบดมินตัน อะคาเดมี่ กล่าวว่า ช่วง 9 เดือน   ทุกคนทำงานกันอย่างหนัก   ทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ และเรื่องสภาพจิตใจ สิ่งสำคัญที่ทำให้บาส – ปอป้อ ประสบความสำเร็จ คือ ระเบียบวินัย การทำทุกอย่างตามโปรแกรมที่วางไว้  ในการซ้อมของเอสซีจี แบดมินตัน อะคาเดมี่  เน้นที่คุณภาพและวัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อมแต่ละครั้งเป็นหลักว่า ตอบโจทย์และเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ โดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงสมรรถภาพทางกลไกของร่างกาย กับความสมดุล

ศ.ดร.เจริญ    กล่าวด้วยว่า  ที่ผ่านมาไม่เคยสร้างความกดดันด้วยการคาดหวังกับนักกีฬาว่าต้องชนะ  เพราะสิ่งนี้จะทำให้นักกีฬามีความกดดันสะสมตั้งแต่ก่อนลงสนาม และจะกดดันมากยิ่งในระหว่างการแข่งขัน   ในรายของ บาส  และ ปอป้อ   จะแนะนำเสมอว่าเกมกดดันไม่เป็นไร   เพราะคือ ธรรมชาติของการแข่งขัน แต่ทั้งคู่ต้องไม่กดดันตัวเอง ไม่ต้องคิดถึงผลการแข่งขัน ให้คิดถึงรูปแบบวิธีการเล่นที่ฝึกซ้อมวางแผนกันมา  ให้มีสมาธิอยู่กับเกม  ผลงานครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า   ทั้งคู่ก้าวข้ามตรงนั้นมาได้แล้ว สอบผ่านเรื่องสภาพจิตใจตัวเอง

วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office  “เอสซีจี”  กล่าวว่า ความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา    คือการทำงานหนักของทีมผู้ฝึกสอน ทีมวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่เสียสละทุ่มเทในการพัฒนาด้านต่างๆ   จนนักกีฬาสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ

“เอสซีจี  เราเชื่อมั่นในตัวนักกีฬาไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก สามารถเป็นหนึ่งในระดับโลกได้ หากมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท ฝึกซ้อมและมีวินัยในตัวเอง  ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ให้เห็นว่า แนวทางวิทยาศาสตร์การกีฬาควบคู่กับทักษะแบดมินตันที่ทำมาถูกต้อง แต่ต้องพัฒนาต่อไป ทีมงานยังต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะชาติอื่นๆก็ต้องแก้ไขและพัฒนาเพื่อเอาชนะเรา รวมถึงต้องมีการพัฒนานักกีฬารุ่นใหม่ๆ ให้มีความต่อเนื่องด้วย”  วีนัส  กล่าว

ทั้งหมดนี้คือการทำงานของทุกฝ่ายตลอด 9  เดือน  จนนำมาสู่ความสำเร็จของ “บาส”เดชาพล  พัววรานุเคราะห์ – “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย  ที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการแบดมินตันไทยในระดับโลก ด้วยการคว้าแชมป์แบดมินคู่ผสม 3 รายการ

Badminton Sponsored
แบดมินตัน

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.