Badminton Sponsored

แบดมินตัน”โธมัส-อูเบอร์ คัพ 2020″ สาวไทยจองตั๋วเข้า 8 ทีม-ทีมชายงานหนัก – สยามกีฬา

Badminton Sponsored
Badminton Sponsored

หลังจากแฟนๆแบดมินตันทั่วโลกได้เฝ้าตามลุ้นตามเชียร์ทีมรักในการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมผสมชิงแชมป์โลก “สุธีรมานคัพ2021” ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งทัวร์นาเมนต์ที่สำคัญมากของวงการแบดมินตันโลกจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยให้เกียรติใช้ชื่อของ ดิ๊ก สุธีรมาน นักแบดมินตันชาวอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันอินโดนีเซียจัดขึ้น ซึ่งบทสรุปสุดท้ายทัพนักตบลูกขนไก่แดนมังกร จีน ยังเดินหน้าทำผลงานได้อย่างร้อนแรงคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ ครองสถิติกวาดแชมป์มาครองได้มากถึง 12 สมัย (พ.ศ. 2538, 2540, 2542, 2544, 2548, 2550,2552, 2554, 2556,2558, 2562,2564)

     ในวันเสาร์ที่ 9 ต.ค.64 ที่จะถึงนี้อีกหนึ่งทัวร์นาเมนต์สำคัญของวงการแบดมินตันโลกจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี ในการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมชายและทีมหญิงชิงแชมป์โลก “โธมัส-อูเบอร์ คัพ2020” ที่เมืองออร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก ในระหว่างวันที่ 9-17 ต.ค.64

    จุดเริ่มต้นของศึกขนไก่ “โธมัส-อูเบอร์คัพ”  มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482  เซอร์ จอร์จ โทมัส นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชาย ในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี 

    
     ก่อนที่สหพันธ์จะจัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันสำหรับสตรีขึ้น โดยได้รับถ้วยรางวัลซึ่งบริจาคโดย มิสซิส เอช. อูเบอร์ อดีตนักกีฬาแบดมินตันของอังกฤษ เรียกว่า “อูเบอร์คัพ” (UBER CUP)เริ่มจัดการแข่งขันเมื่อปี 1955

ทำเนียบแชมป์ โธมัส คัพ 
อินโดนีเซีย ครองแชมป์มากที่สุด ถึง 13 ครั้ง ในปี 1958,1961,1964,1970,1973,1976,1979,1984,1994,1996,1998,2000,2002 ,
จีน ครองแชมป์ 10 ครั้ง ในปี 1982,1986,1988,1990,2004,2006,2008,2010,2012,2018 , 
มาเลเซีย ครองแชมป์ 5 ครั้ง ในปี1949,1952,1955,1967,1992 ,
ญี่ปุ่น 1 ครั้ง 2014 , 
เดนมาร์ก 1 ครั้ง 2016

    ทีมชายไทยทำผลงานดีที่สุดครองตำแน่งรองแชมป์ในปี 1961 จากผลงานของสุดยอดนักกีฬาแบดมินตัน  6 คน ในสโมสรเล็กๆที่มีชื่อว่า “สมบุญดี” มี จรัส  วันทนทวี เป็นทั้งหัวหน้าสโมสร นักกีฬาทั้ง 6 คนประกอบด้วย ชาญณรงค์ รัตนแสงสรวง, สมสุข บุณยสุขานนท์, ณรงค์ พรฉิม,ชูชาติ วัฒนธรรม, ชวเลิศ ชุ่มคำ และ ระพี  กาญจนระพี

ทำเนียบแชมป์ อูเบอร์ คัพ
จีน ครองแชมป์มากที่สุด ถึง 14 ครั้ง ในปี 1984, 1986, 1988, 1990, 1992, 1998, 2000, 2002, 2004,2006,2008, 2012,2014,2016
ญี่ปุ่น ครองแชมป์ 6 ครั้ง ในปี 1966, 1969, 1972, 1978 , 1981 และ 2018 
อินโดนีเซีย ครองแชมป์ 3 ครั้ง  ในปี 1975, 1994 และ1996
สหรัฐอเมริกา ครองแชมป์ 3 ครั้ง  ในปี 1957, 1960 และ 1963
เกาหลีใต้ ครองแชมป์ 1 ครั้ง ในปี 2010

    ทีมหญิงไทยทำผลงานดีที่สุดครองครองตำแหน่งรองแชมป์ในปี 2018 นักแบดมินตันสาวไทยชุดสร้างประวัติศาสตร์นั้น 10 นักกีฬาทีมหญิงนำทัพโดย  “เมย์” รัชนก อินทนนท์  , “แน็ต” ณิชชาอร จินดาพล  , “หมิว” พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ , “ครีม” บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ , “กิ๊ฟ” จงกลพรรณ กิติธรากุล , “วิว” รวินดา ประจงใจ  , “เบสท์” ชญานิษฐ์ ฉลาดแฉลม , “จ๋อมแจ๋ม” ผไทมาส เหมือนวงศ์ , “ปอป้อ” ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย , “เอิร์ธ” พุธิตา สุภจิรกุล

    ภายหลังจากที่ต้องเลื่อนการแข่งขันเนื่องสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดไปทั่วโลกส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬาโลกที่ต้องยกเลิกหรือต้องเลื่อนการแข่งขันกันระนาว เช่นเดียวกับการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมชายและทีมหญิงชิงแชมป์โลก “โทมัส-อูเบอร์ คัพ2020” ที่เมืองอาร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก ก็ต้องเลื่อนมาจัดในปี ค.ศ. 2021 ในระหว่างวันที่ 9-17 ต.ค.64

    โดยทีมนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ทีมชายโทมัสคัพประกอบไปด้วย “กัน” กันตภณ หวังเจริญ  , “วิว” กุลวุฒิ วิทิตศานต์ , “สกาย” กิตตินุพงษ์ เกตุเรน , “เอ็ม” สุภัค จอมเกาะ , “บาส”เดชาพล พัววรานุเคราะห์ , “มาร์ค” ตนุภัทร วิริยางกูร, “ไบร์ท” สัพพัญญู อวิหิงสานนท์ , “ภูมิ” อดุลย์รัชต์ นามกูล ,  “อิฐ” วรท อุไรวงศ์ , “เบน”นันทกานต์ ยอดไพสง  , เปรม ณัฐพัฒน์ ตฤณขจี ,”โอ๊ต” เฉลิมพล เจริญกิจอมร,

ผลของการจับสายการแข่งขัน มีดังนี้ ทีมชาย โธมัส คัพ หนุ่มไทย อยู่กลุ่ม เอ ร่วมกับ อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, แอลจีเรีย
กลุ่ม บี เดนมาร์ก,ฝรั่งเศส, เยอรมัน,เกาหลีใต้
กลุ่ม ซี จีน ,อินเดีย, เนเธอร์แลนด์ ,ตาฮิติ
กลุ่ม ดี ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, แคนาดา, อังกฤษ

    เมื่อดูจากสายการแข่งขันทีมโทมัสคัพไทยอยู่ร่วมกลุ่มกับ 2 ทีมที่มีนักกีฬาระดับชั้นนำของโลกเต็มทีมอย่าง  อินโดนีเซีย ที่มี แอนโทนี่ ซูนิซูกะ กินติ้ง มืออันดับ 5 ของโลก ,โจนาธาน คริสตี้ มืออันดับ 7 ของโลก, เควิน ซานจาย่า กับ มาร์คัส เฟอร์นัลดรี้ คู่มืออันดับ 1 ของโลก, เฮนดรา เซเทียวาน กับ โมฮาเหม็ด อัสซาน คู่มืออันดับ 2 ของโลก ส่วนทีม ไต้หวัน ที่มี โจว เทียนเฉิน มืออันดับ 4 ของโลก ,หวัง จื่อเหว่ย มืออันดับ 11 ของโลก , หลี่ หยาง กับ หวัง ฉีหลิน คู่มืออันดับ 3 ของโลก, ลู่ ชิงเหยา กับ หยาน โปฮั่น คู่มืออันดับ 22 ของโลก ทำให้โอกาศที่ทีมโทมัสคัพไทยจะฝ่าด่านผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายเป็นงานที่หนักมากๆ  

    สำหรับทีมเต็งที่มีโอกาศครองถ้วยโทมัสคัพ 2020 ยังคงเป็นแชมป์เก่า จีน ,อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น แต่ที่ให้จับตาเป็นพิเศษก็คือเจ้าภาพ “เดนมาร์ก” ที่มีทีมที่แข็งแกร่งสุดๆ นำทีมโดย วิคเตอร์ อเซลเซ่น มืออันดับ 2 ของโลก, แอนเดรส แอนทอนสัน มืออันดับ 3 ของโลก, ราสมุส เกมเก้ มืออันดับ 12 ของโลก, คิม แอสทรู๊ป กับ แอนเดอร์ ราสมุสเซน คู่มืออันดับ 11 ของโลก ที่นอกจากฝีมือดีแล้วยังมีกองเชียร์ช่วยหนุนหลังอีกเต็มที่

    ทีมหญิงอูเบอร์คัพประกอบไปด้วย  “เมย์” รัชนก อินทนนท์, “ครีม”บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ ,”หมิว” พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ ,”จิว” พิทยาภรณ์ ไชยวรรณ ,”วิว”รวินดา ประจงใจ ,”กิ๊ฟ”จงกลพรรณ กิติธรากุล ,”อันนา” นันทน์กาญจน์ เอี่ยมสอาด ,”มูนา” เบญญาภา เอี่ยมสอาด ,”ปอป้อ”ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย , “เอิร์ธ”พุธิตา ศุภจิรกุล , “เฟม” ศุภิสรา เพรียวสามพราน,  “เมย์”  ศุภนิดา  เกตุทอง  

ทีมหญิง อูเบอร์ คัพ สาวไทย ทีมวางของกลุ่ม บี ร่วมกับ อินเดีย,สเปน, สก๊อตแลนด์
กลุ่ม เอ  ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย,ฝรั่งเศส, เยอรมัน
กลุ่ม ซี เกาหลีใต้ ,ไต้หวัน, อียิปต์, ตาฮิติ
กลุ่ม ดี จีน ,เดนมาร์ก, มาเลเซีย, แคนาดา

    ด้านทีมหญิงอูเบอร์คัพไทย ไม่น่าพลาดที่จะตีตั๋วผ่านเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายเพราะอยู่ในสายการแข่งขันที่ดีสุด  ทีมร่วมกลุ่มอย่างอินเดีย ไม่มีชื่อของ พูสซาร่า วีสินธุ , มืออันดับ 7 ของโลก , สเปน  ไม่มีชื่อของ  คาโรลิน่า มาริน มืออันดับ 4 ของโลก ทำให้โอกาศเก็บชัยชนะครองแชมป์กลุ่ม บี ของทีมสาวไทยเปิดกว้างมากขึ้น จากนั้นค่อยไปลุ้นผลการจับสลากในรอบ 8 ทีมที่จะต้องพบกับทีมอันดับ 2 ของกลุ่มอื่นๆ  ส่วนทีมเต็งแชมป์ของกลุ่มอื่นๆน่าจะเป็น จีน  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้

    สำหรับทีมเต็งที่มีโอกาสครองถ้วยอูเบอร์คัพ 2020 ยังคงเป็น จีน ที่มี เฉิน ยู่เฟย มืออันดับ 2 ของโลก, เหอ บิงเจียว มืออันดับ 9 ของโลก, เฉิน ยิงเฉิน กับ เจีย ยี่ฟาน คู่มืออันดับ 2 ของโลก เป็นกำลังสำคัญ  ด้านแชมป์เก่า ญี่ปุ่น ต้องพบข่าวร้ายเสีย 3 กำลังสำคัญของทีม โนโซมิ โอกูฮาระ อดีตแชมป์โลกเมื่อปี 2017 มืออันดับ 3 ของโลก,  ซายากะ ฮิโรตะ หญิงคู่มือ 1 ของโลก และ วากานะ นากาฮาระ หญิงคู่มือ 3 ของโลก ที่บาดเจ็บไปพร้อมๆกัน แต่ก็ยังมี อกาเนะ ยามากูชิ มืออันดับ 5 ของโลก, นามิ มัตสึยามะ กับ ชิฮารุ ชิดะ คู่มืออันดับ 10 ของโลก ,มายุ มัตสึโมโต , มิซากิ มัตซิโตโม,  อริสะ ฮิกาชิโนะ ที่พร้อมสลับคู่ลงสนาม 

    แต่ที่ให้จับตาเป็นพิเศษก็คือ “เกาหลีใต้” ที่มีค่าเฉลี่ยที่แข็งแกร่งทั้งทีม อัน เซยอง มืออันดับ 8 ของโลก, คิม กาอึน มืออันดับ 17 ของโลก, ลี โซฮี กับ ชิน ซองชาน คู่มืออันดับ 4 ของโลก, คิม โซยอง กับ กอง ฮียอน คู่มืออันดับ 5 ของโลก

    งานนี้แฟนๆกีฬาแบดมินตันชาวไทยต้องมาร่วมใจกันส่งแรงเชียร์ไปให้กับนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ทำผลงานให้ทะลุเป้าหมายเหมือนกับปี 2018 ที่ผ่านมาให้ได้ 9-17 ตุลาคมนี้ แฟนๆติดตามได้ทางทรูสปอร์ต เอชดี 3(668), ทรูสปอร์ต เอชดี2 (667) และ ทรูสปอร์ต 7(686)

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Badminton Sponsored
แบดมินตัน

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.