Badminton Sponsored

อีสปอร์ต ถูกบรรจุเป็น กีฬาอาชีพ – Brand Inside

Badminton Sponsored
Badminton Sponsored

ในที่สุด อีสปอร์ต ถูกระบุให้เป็นประเภทกีฬาอาชีพตามกฎหมายไทย ไม่ต้องอยู่ในพื้นที่สีเทาอีกต่อไป ดังนั้นลองมาดูภาพรวม อีสปอร์ต ในไทยว่าเติบโตขนาดไหน มีมูลค่าตลาดมากเท่าไร และเมื่อเป็นกีฬาอาชีพส่งผลดีอะไรบ้าง

ราชกิจจาฯ ประกาศ อีสปอร์ต เป็นกีฬาอาชีพ

วันที่ 20 ก.ย. 2021 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการกีฬาอาชีพ เรื่อง กำหนดชนิดหรือประเภทกีฬาที่เป็นกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2561 โดยเพิ่มเติมให้เพิ่มเติมชนิดกีฬา อีสปอร์ต เป็นกีฬาอาชีพในประกาศคณะกรรมการกีฬาอาชีพ เรื่อง กำหนดชนิดหรือประเภทกีฬาที่เป็นกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2561

และหลังจากนี้ต้องการให้สมาคมกีฬาอาชีพ และสโมสรกีฬาอาชีพในชนิดกีฬา อีสปอร์ต มาจดแจ้งการดำเนินการ
ต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสมาคมกีฬาอาชีพ สโมสรกีฬาอาชีพ นักกีฬาอาชีพ และบุคลากร กีฬาอาชีพที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย

ปัจจุบัน คณะกรรมการกีฬาอาชีพ ได้กำหนดกีฬาอาชีพ ไว้ 13 ชนิดกีฬา คือ ฟุตบอล, กอล์ฟ, เจ็ตสกี, วอลเลย์บอล , ตะกร้อ, โบว์ลิ่ง, จักรยานยนต์, จักรยาน, รถยนต์, สนุกเกอร์, แบดมินตัน, เทนนิส และบาสเกตบอล ซึ่งกีฬาอาชีพเหล่านี้จะมีมาตรฐานควบคุม และการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.

มูลค่าตลาดเกม 27,000 ล้านบาท

อ้างอิงจากงานแถลงข่าวของ AIS และข้อมูลของ Depa คาดการณ์มูลค่าตลาดเกมในไทยที่ราว 27,000-29,000 ล้านบาทในปี 2020 และมีโอกาสเติบโตในอนาคต ยิ่งการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคต่างหันมาเล่นเกมกันมากขึ้น และมีหลายองค์กรเข้ามาสนับสนุนการแข่งขัน อีสปอร์ต ต่าง ๆ

หากเจาะไปที่กลุ่มนักกีฬา อีสปอร์ต ในไทย ปัจจุบันมีการฝึกซ้อมชัดเจนตามการดูแลของต้นสังกัด รวมถึงมีการให้เงินเดือนหลักหมื่นถึงหลักแสนบาท และมีการซื้อตัวผู้เล่นเช่นกัน ยกระดับจากหลายสิบปีก่อนที่ อีสปอร์ต ยังค่อนข้างสมัครเล่น กล่าวคือไม่มีเงินเดือน, ไม่มีสัญญา และไม่มีการดูแลการฝึกซ้อมที่ชัดเจน

ขณะเดียวกันการแข่งขันรายการต่าง ๆ ในประเทศไทย มูลค่าเงินรางวัลชนะเลิศพุ่งไปถึงหลายล้านบาท ล้อไปกับจำนวนผู้ชนที่ Nielsen พบว่า คนรุ่นใหม่นิยมรับชมการแข่งขัน อีสปอร์ต มากขึ้น และพวกเขามีรายได้ 45,188 บาท/เดือน มากกว่าคนกรุงเทพส่วนใหญ่เสียอีก ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจในการทำตลาดของแบรนด์สินค้า

ผลดีมีแน่ ๆ แต่ผลเสียก็อาจตามมา

เมื่อนักกีฬา อีสปอร์ต มีการรับรองเป็นนักกีฬาอาชีพจากหน่วยงานที่ดูแลด้านกีฬาของไทย ผลดีย่อมตามมาถึงพวกเขา ไล่ตั้งแต่โอกาสการสนับสนุนที่มีมากขึ้น, การได้รับความน่าเชื่อถือกรณีไปแข่งในต่างประเทศ รวมถึงการดูแลระหว่างที่พวกเขาเป็นนักกีฬาอาชีพ และอาจรวมถึงการเลิกอาชีพ คล้ายกับกรณีกีฬาอื่น ๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อทุกอย่างเป็นอาชีพ และมีการกำกับดูแลชัดเจน เรื่องรายได้ของนักกีฬา อีสปอร์ต อาจถูกจัดเก็บภาษีในรูปแบบเดียวกับนักกีฬาอาชีพอื่น ๆ ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มดารานักแสดง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการมีรายได้ มากกว่านั้นคือ เมื่อเป็นนักกีฬาอาชีพ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ ต้องมีการปรับมุมมองให้ดีในการประกอบอาชีพนี้

ทั้งนี้เมื่อลองถ่วงดุลกันแล้ว ส่วนตัวมองว่าข้อดีน่าจะมีมากกว่าข้อเสีย เพราะเมื่อกลุ่มนักกีฬา อีสปอร์ต เป็นอาชีพ โอกาสที่จะต่อยอดสร้างรายได้ในมุมอื่น ๆ นอกจากมีเงินจากการแข่งขันก็สูงขึ้น แถมยังเป็นที่ยอมรับจากคนทั้งใน และต่างประเทศอีกด้วย ผ่านการมีหน่วยงานรัฐรองรับชัดเจน

สรุป

เรียกว่านักกีฬา อีสปอร์ต คงถูกยอมรับจากสังคมมากขึ้นแน่ ๆ และไม่ถูกมองว่าเป็นแค่เด็กเล่นเกม แต่ถึงอย่างไรกว่าจะก้าวไปถึงนักกีฬาอาชีพ หรือนักกีฬา อีสปอร์ต ได้ คนเล่นเกมก็ต้องฝ่าฟัน และพิสูจน์ตัวเอง พร้อมเปิดรับหน้าที่ใหม่กับความเป็นนักกีฬาอาชีพเต็มตัว

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Badminton Sponsored
แบดมินตัน

อีสปอร์ต (อังกฤษ: Esports) หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic sports) คือกีฬาประเภทบุคคลหรือทีมชนิดหนึ่ง กรมกีฬาได้จัดEsportเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่เกี่ยวกับกับการแข่งขันวิดีโอเกม โดยมีการแข่งตามประเภทของวิดิโอเกมเช่น เกมวางแผนการรบ, เกมต่อสู้, เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง, โมบา , เกมอินดี้ การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ในปี 2017 ผู้ชมอีสปอร์ตมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 385 ล้านคนทั่วโลก

This website uses cookies.