วอลเลย์บอลครองใจวัยโจ๋เชื่อสร้างชื่อให้ไทย รองลงมา 'แบดมินตัน-เทควันโด' ไร้ฟุตบอล

วอลเลย์บอลครองใจวัยโจ๋เชื่อสร้างชื่อให้ไทย รองลงมา ‘แบดมินตัน-เทควันโด’ ไร้ฟุตบอล

จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาตินั้น เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองของเยาวชนในมิติต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาวงการกีฬาไทย KBU SPORT POLL โดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “เยาวชนกับมิติของความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาวงการกีฬาไทย”

สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม 2565 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนทั่วไปทั้งในและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15-25 ปี จำนวน 1,003 คน โดยแบ่งเป็น เพศชาย 694 คน คิดเป็นร้อยละ 69.20 เพศหญิง 309 คน คิดเป็นร้อยละ 30.80 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ โดยภาพรวมพบว่า

ความสนใจที่มีต่อข่าวสารทางการกีฬา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 30.11 สนใจระดับมาก รองลงมา ร้อยละ 26.83 สนใจระดับมากที่สุด ร้อยละ 25.66 สนใจระดับปานกลาง ร้อยละ 14.27 สนใจระดับน้อย และร้อยละ 4.13 สนใจระดับน้อยที่สุด

ความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาของวงการกีฬาไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 24.05 รัฐบาลยกระดับขับเคลื่อนการพัฒนากีฬาเป็นวาระแห่งชาติ รองลงมา ร้อยละ 22.34 องค์กรที่รับผิดชอบทางการกีฬาขับเคลื่อนแผนพัฒนาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 17.53 วงการกีฬาปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 15.24 รัฐบาลสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 12.08 สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยกำหนดแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ ร้อยละ 6.12 ประชาชนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและอื่นๆ ร้อยละ 2.64

ความคาดหวังที่มีต่อนักกีฬาทีมชาติสำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.05 นักกีฬาสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง รองลงมา ร้อยละ 23.88 นักกีฬาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชน ร้อยละ 19.37นักกีฬามีการฝึกซ้อมและเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 14.97 นักกีฬามีระเบียบวินัยปฏิบัติตามกฎ ร้อยละ 11.51 นักกีฬามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ชื่อเสียงและวัฒนธรรม และอื่นๆ ร้อยละ 4.22

ความคาดหวังจากภาครัฐสำหรับการส่งเสริมการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ร้อยละ 27.08 สนับสนุนงบประมาณการพัฒนาให้เพียงพอและต่อเนื่อง รองลงมา ร้อยละ 24.83 สนับสนุนการวางรากฐานการเล่นกีฬาและออกกำลังกายให้กับเด็กและเยาวชน ร้อยละ 20.11 สนับสนุนจัดสร้างสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เพียงพอ ร้อยละ 15.01 สนับสนุนการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเด็กและเยาวชนที่สร้างชื่อเสียงทางด้านกีฬาให้กับประเทศ ร้อยละ 10.97 สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงอุปกรณ์การเล่นกีฬาและออกกำลังกายในราคาย่อมเยา และอื่นๆ ร้อยละ 2.00

ชนิดกีฬาที่คาดว่าจะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ร้อยละ 31.09 วอลเลย์บอลหญิง รองลงมา ร้อยละ 25.03 แบดมินตัน ร้อยละ 22.09 เทควันโด ร้อยละ 13.88 มวยสากล ร้อยละ 4.38 ตะกร้อ และอื่นๆ ร้อยละ 3.53

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก

Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon